วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การตรวจสภาพรถ

กรมการขนส่งทางบกมีหน้าที่รับผิดชอบการตรวจสภาพรถ ทั้งรถที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติ การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 และตามพระราชบัญญัติรถยนตร์ พ.ศ. 2522 รถที่จะนำมาใช้ในการขนส่งตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522
หรือ นำมาจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติรถยนตร์ พ.ศ. 2522 จะต้องมีสภาพมั่นคง แข็งแรง มีลักษณะ ขนาด และเครื่องอุปกรณ์ส่วนควบของรถ ถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยของผู้ขับรถ ผู้โดยสารไปกับรถคันนั้น
ผู้ขับขี่รถคันอื่น ๆ คนเดินถนน รวมทั้งสภาพแวดล้อมต่าง ๆ
1. รถที่อยู่ในข่ายต้องตรวจสภาพรถก่อนเสียภาษีประจำปี
1.1 รถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกทุกประเภท โดยไม่จำกัดอายุการใช้งาน
1.2 รถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ประเภทรถดังนี้
-รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปี ขึ้นไป
-รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปี ขึ้นไป
-รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปี ขึ้นไป
-รถจักรยานยนต์ ที่มีอายุใช้งานครบ 5 ปี ขึ้นไป 
2. สถานที่ตรวจสภาพ
2.1 รถที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกทุกประเภท เจ้าของรถจะนำไปตรวจสภาพ ที่สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ที่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก หรือหน่วยงานของกรมการขนส่งทางบกก็ได้
2.2 รถที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ประเภทรถยนต์ส่วนบุคคลและรถจักรยานยนต์ ต้องตรวจสภาพกับสถานตรวจสภาพรถ (ตรอ.) ที่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบกเท่านั้น
ยกเว้น
1) รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าเกิน 1,600 กิโลกรัม จะตรวจสภาพที่ ตรอ. หรือหน่วยงานของกรมการขนส่งทางบกก็ได้
2) รถของส่วนราชการ บุคคลในคณะผู้แทนทางการฑูต คณะผู้แทนทางกงสุล องค์การระหว่างประเทศ ฯลฯ จะตรวจสภาพที่ ตรอ. หรือหน่วยงานของกรมการขนส่งทางบก ก็ได้
3) รถที่มีการดัดแปลงสภาพ รถที่เปลี่ยนสี เปลี่ยนเครื่องยนต์ รถที่มีปัญหาเกี่ยวกับเลขตัวรถ หรือเลขเครื่องยนต์ รถที่ขาดต่ออายุทะเบียนเกิน 1 ปี ฯลฯ (รายละเอียดตามข้อ 7) ให้นำรถไปตรวจสภาพ ณ หน่วยงานของกรมการขนส่งทางบก
3. ระยะเวลาที่ต้องนำรถไปตรวจสภาพ
การตรวจสภาพรถ เจ้าของสามารถนำรถไปตรวจสภาพล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน ก่อนถึงวันสิ้นอายุภาษีประจำปี
4. อัตราค่าตรวจสภาพ
  • รถจักรยานยนต์ คันละ 60 บาท
  • รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน 2,000 กิโลกรัม คันละ 200 บาท
  • รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าเกิน 2,000 กิโลกรัม คันละ 300 บาท
ในการไปติดต่อกับสถานตรวจสภาพรถให้เจ้าของรถนำรถและสมุดคู่มือทะเบียนรถไปแสดง หากผลการตรวจสภาพปรากฏว่า รถอยู่ในเกณฑ์ผ่านการตรวจสภาพ สถานตรวจสภาพรถจะออกใบรับรองการตรวจสภาพรถตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด รถอยู่ในเกณฑ์ไม่ผ่านการตรวจสภาพ สถานตรวจสภาพรถจะแจ้งข้อบกพร่องที่เป็นเหตุให้รถนั้นไม่ผ่านการตรวจสภาพให้เจ้าของทราบ เพื่อจะได้นำรถไปแก้ไขข้อบกพร่องแล้วนำมาตรวจใหม่ หากแก้ไขแล้วนำไปตรวจสภาพที่สถานตรวจสภาพรถเอกชนแห่งเดิมภายใน 15 วัน จะเสียค่าตรวจใหม่ ในอัตราครึ่งหนึ่งของค่าบริการที่กำหนดไว้ แต่หากเกิน 15 วัน หรือไปตรวจที่สถานตรวจสภาพรถเอกชนแห่งอื่นจะเสียค่าบริการเต็มอัตรา
5. การนับอายุใช้งานของรถ
การนับอายุการใช้งานของรถ ให้นับอายุทางทะเบียนโดยนับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนครั้งแรก ถึงวันสิ้นสุดอายุภาษีประจำปี (วันครบกำหนดเสียภาษีประจำปี)
6. เงื่อนไขเกี่ยวกับประเภท ชนิด (ยี่ห้อ) และขนาดรถที่สถานตรวจสภาพรถเอกชนจะให้บริการตรวจสภาพได้
สถานตรวจสถาพรถเอกชนแต่ละแห่งจะต้องตรวจสภาพรถตามชนิด (ยี่ห้อ) ประเภท และ ขนาดรถตามที่ยื่นขออนุญาตและได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนกลางไว้ เช่น ตรวจสภาพรถยนต์ ขนาดน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน 1,600 กิโลกรัม ทุกยี่ห้อ หรือตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ เฉพาะ ยี่ห้อหรือ ตรวจสภาพรถยนต์ขนาดน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน 1,600 กิโลกรัม และเกิน 1,600 กิโลกรัม และรถจักรยานยนต์ ทุกยี่ห้อ เป็นต้น กรณีรับตรวจสภาพรถบางชนิด (ยี่ห้อ) ต้องแสดงป้ายที่เห็น ได้ชัดเจน เพื่อให้ประชาชนที่จะมาใช้บริการทราบด้วย กรณีสถานตรวจสภาพรถเอกชนแห่งใด ประสงค์จะตรวจสภาพรถในประเภท ชนิด(ยี่ห้อ) และขนาดต่างจากที่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนกลาง ให้ทำหนังสือขออนุญาตต่อนายทะเบียน กลางเพื่อพิจารณาเป็นราย ๆ ไปได้
7. รถที่ต้องนำไปให้นายทะเบียนตรวจสถาพที่หน่วยงานของกรมการขนส่งทางบก (สถานตรวจสภาพรถเอกชนไม่สามารถรับตรวจสภาพได้)
รถที่ดัดแปลงสภาพผิดไปจากที่ได้จดทะเบียนไว้
- รถที่เปลี่ยนสีหรือเปลี่ยนแปลงตัวรถหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของรถให้ผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้ในสมุดคู่มือทะเบียนรถ ( เช่น เปลี่ยนเครื่องยนต์ เปลี่ยนลักษณะรถ เปลี่ยน ชนิดน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น )
- รถที่มีปัญหาเกี่ยวกับเลขตัวรถหรือเลขเครื่องยนต์ ( เช่น ไม่ปรากฏตัวเลข ตัวเลขชำรุด หรือมีร่องรอยการแก้ไข ขูด ลบ หรือลบเลือน จนไม่สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ เป็นต้น )
- รถที่เจ้าของได้แจ้งการไม่ใช้ชั่วคราว หรือแจ้งการไม่ใช้รถตลอดไปไว้
- รถเก่าที่มีเลขทะเบียนเป็นเลขทะเบียนรุ่นเก่า ( เช่น กท-00001, กทจ-0001 เป็นต้น) ซึ่งรถดังกล่าวต้องเปลี่ยนทะเบียนรถใหม่เมื่อมีการนำมาเสียภาษีประจำปี
- รถที่มีปัญหาเกี่ยวกับการถูกโจรกรรมแล้วได้คืน
- รถที่ได้สิ้นอายุภาษีประจำปี (ขาดต่อทะเบียน) เกิน 1 ปี
8. คำเตือน
(1) ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขซึ่งได้ กำหนดในกฏกระทรวง ออกตามความในมาตรา 74 แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 อาจถูกนายทะเบียนกลางเพิกถอนใบอนุญาตนั้นได้
(2) ผู้ได้รับใบอนุญาตผู้ใดโดยทุจริตหรือจงใจออกใบรับรองการตรวจสภาพรถไปโดยไม่ตรง ตามความเป็นจริง ย่อมมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทและนายทะเบียนกลางมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตตั้งสถานตรวจสภาพรถนั้นเสียได้
(3) ผู้ใดในการประกอบการงานวิชาชีพใด ทำคำรับรองเป็นเอกสารอันเป็นเท็จ โดยประการที่ น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนผู้นั้นอาจ
มีความผิดตามประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา 269 ซึ่งระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

วันเสาร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2557

"เราซ่อมให้" โฆษณาประกันภัยรถยนต์ 3+ เฟิร์สคลาส จากเจ้าพระยาประกันภัย




รถตกถนน ชีวิตจริงมันไม่ขำนะ เพราะประกัน 3 บวกทั่วไปไม่จ่าย แต่ประกัน 3 บวกเฟิร์สคลาส รถพลิกคว่ำ ตกถนน เราซ่อมให้ "ประกัน 3+ เฟิร์สคลาส" ...

วันจันทร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2557

รหัสรถยนต์


ตามพรบ.ประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 กำหนดให้บริษัทประกันภัยรับประกันภัยรถยนต์ตาม ประเภทรถยนต์ รหัสรถยนต์ ลักษณะการใช้รถยนต์ และขนาดรถยนต์   ดังนั้น  เพื่อให้สามารถซื้อประกันได้ถูกต้องตามเงื่อนไขการรับประกันที่ระบุไว้ในกรมธรรม์  และป้องการปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นภายหลังจากการซื้อประกันผิดประเภทรถยนต์ รหัสรถยนต์ ลักษณะการใช้รถยนต์และขนาดรถยนต์   เวลาท่านซื้อประกันกรุณาตรวจสอบกรมธรรม์ของท่านด้วย  วิธีการตรวจสอบ

ตรวจสอบประเภทรถยนต์ รหัสรถยนต์ ลักษณะการใช้รถยนต์ และขนาดรถยนต์  ให้ตรวจสอบจากทะเบียนรถยนต์ เปรียบเทียบกับ กรมธรรม์ที่บริษัทประกันภัยรถยนต์ออกให้  หากพบว่า ข้อมูลที่ออกกรมธรรม์ไม่ถูกต้องหลังจากได้รับกรมธรรม์ ให้แจ้งตัวแทนหรือนายหน้าเพื่อแก้ไขทันที   ซึ่งท่านสามารถตรวจสอบได้ดังนี้

1)  รถเก๋ง / รถกระบะ ประตู (รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ไม่เกิน ที่นั่ง = รย.1 )
·         รหัส 110 คือ รถยนต์ใช้ส่วนบุคคลไม่ใช้รับจ้างหรือให้เช่า
·         รหัส 120 คือ รถยนต์ใช้เพื่อการพาณิชย์ หรือ จดทะเบียนบุคคลเพื่อการใช้งานรับจ้าง หรือ ให้เช่า  แต่ไม่ใช้รับจ้างสาธารณะ
2)  รถกระบะบรรทุก (รถยนต์บรรทุกไม่เกิน ตัน =รย.3) 
·         รหัส 210 คือ รถยนต์ใช้ส่วนบุคคล ไม่มีโครงเหล็ก หรือ โครงหลังคา
·         รหัส 320 คือ รถยนต์บรรทุกใช้เพื่อการพาณิชย์ รับจ้างหรือให้เช่า (ใช้งานบรรทุก / ใช้โดยสาร) แต่ไม่ใช้รับจ้างสาธารณะ
·         รหัส 340 คือ รถยนต์บรรทุกใช้เพื่อการพาณิชย์ ใช้บรรทุกวัตถุอันตราย
3. รถตู้โดยสาร (รถยนต์โดยสารส่วนบุคคล)
·         รหัส 210 คือรถยนต์โดยสารใช้ส่วนบุคคล ไม่สามารถนำมาใช้รับจ้างหรือให้เช่าหรือใช้เป็นรถประจำตำแหน่ง
·         รหัส 220 คือรถยนต์โดยสารเชิงพาณิชย์ ใช้เพื่อรับจ้างรับส่งคน เช่น พนักงาน นักเรียน
4. รถตู้โดยสาร (รถยนต์โดยสารรับจ้าง)
·         รหัส 220 คือรถยนต์โดยสารใช้รับจ้างรับส่งคน เช่น พนักงานบริษัท นักเรียน

·         รหัส 230 คือรถยนต์โดยสาร ใช้รับจ้างประจำทางและรับจ้างสาธารณะ

ลักษณะรถแต่ละประเภทตาม พ.ร.บ.รถยนต์



1.  รย.1  รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน 

2.  รย.2  รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน  7  คน

3.  รย.3  รถบรรทุกส่วนบุคคล

4.  รย.4  รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล

5.  รย.5  รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด

6.  รย.6  รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน  7  คน


7.  รย.7  รถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง

8.  รย.8  รถยนต์รับจ้างสามล้อ

9.  รย.9  รถยนต์บริการธุรกิจ

10.  รย.10  รถยนต์บริการทัศนาจร

11.  รย.11  รถยนต์บริการให้เช่า


12.  รย.12  รถจักรยานยนต

13.  รย.13  รถแทรกเตอร

14.  รย.14  รถบดถนน

15.  รย.15  รถใช้งานเกษตรกรรม

16.  รย.16  รถพ่วง


17.  รย.17  รถจักรยานยนต์สาธารณะ

แบบฟอร์มลงทะเบียน

ถ้าคุณมีความฝัน