1. เลขทะเบียน ตรงกัน  ดูหน้าต่อภาษี ต่อทะเบียน พรบ ต้องครบ
2. หมายเลขเครื่อง หมายเลขตัวถังรถยนต์ ในสมุดต้องตรงกัน
3. ชื่อเจ้าของรถ ผู้ครอบครอง ดูลายเซ็นในเอกสารการซื้อขาย ต้องเหมือนกัน ข้อมูลเกี่ยวกับรายการจดทะเบียนหรือเจ้าของรถยนต์นี้จะเริ่มตั้งแต่หน้าที่ 4 – หน้าที่ 15 กรณีเป็นรถยนต์ที่ยังผ่อนอยู่ ข้อมูลผู้ถือกรรมสิทธิ์จะเป็นชื่อบริษัทไฟแนนซ์ และผู้ครอบครองก็คือผู้ที่ใช้รถซึ่งกำลังผ่อนอยู่ขณะนั้น


4. ดูรายการเสียภาษี ปีละเท่าไหร่ ข้อมูลเหล่านี้จะเริ่มที่หน้า 16

5. การบันทึกการแก้ไขเกี่ยวกับรถ เช่น แจ้งจอด เปลี่ยนเครื่อง แจ้งติดแก๊ส ฯลฯ ต้องลงเล่มเรียบร้อย ข้อมูลจะเริ่มในหน้าที่ 18

6. กรณีซื้อรถคันนั้น ในใบซื้อขาย หนังสือมอบอำนาจ หนังสือโอน หนังสือยินยอมหรือเอกสารอื่นๆ ลายเซ็นต์ ชื่อผู้ครอบครองต้องตรงกันเหมือนกัน

เล่มทะเบียนรถยนต์  หรือสมุดคู่มือจดทะเบียนนั้น  ถีอเป็นเอกสารสำคัญที่บันทึกประวัติเบื้องต้นของรถยนต์แต่ละคันไว้ ไม่ว่าจะเป็นรุ่น  ยี่ห้อเลขตัวถัง  เลขเครื่องยนต์
จดทะเบียนเมื่อไหร่ ลำดับของเจ้าของรถ การเปลี่ยนเครื่องยนต์  การเปลี่ยนสี  หรือในกรณีที่รถติดแก๊ส  มีการแจ้งติดแก๊สหรือยัง โดยดูจากท้ายเล่มสมุดคู่มือจดทะเบียนเป็นต้น
       หากข้อมูลใดไม่ตรงกับที่ปรากฎบนตัวรถ  เช่น เลขตัวเครื่่อง  เลขตัวถังไม่ตรงกับในสมุดคู่มือ  อันเนื่องมาจากเปลี่ยนเครื่องยนต์มา  แต่ไม่ยอมแจ้งกรมการขนส่งทางบก รถคันนี้มีปัญหาในการโอนแน่นอน  อาจจะถึงขั้นโอนไม่ได้
      นอกจากนี้เล่มทะเบียนยังมีการปลอมแปลง  และสวมทะเบียนกันเป็นจำนวนมาก  ทำให้ก่อนจะตัดสินใจซื้อขายรถมือสองคันใดนั้น  ผู้ซื้อควรตรวจสอบเล่มทะเบียนว่า เป็นของจริงหรือไม่
     โดยวิธีสังเกตเล่มทะเบียนว่าจริงหรือปลอมนั้น  หากเป็นประชาชนทั่วไปสังเกตได้ยาก เนื่องจากมิจฉาชีพใช้เทคโนโลยีที่ค่อนข้างแนบเนียนในการเลียนแบบ  ซึ่่งอาจจะ ต้องใช้ประสบการณ์  ความชำนาญและความคุ้นเคยในการสังเกตลักษณะตัวอักษร(Font)ขนาดตัวอักษร  สีหมึกพิมพ์  และเครืองหมายต่างๆของทางราชการ
     แต่สามารถตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น โดยวิธีที่
   1.ให้ผู้ซื้อตรวจสอบรายการทางทะเบียนรถกับตัวรถ และป้ายวงกลมติดหน้ารถ  ว่าตรงกันหรือไม่  ให้โทรศัพท์สอบถามว่า  ข้อมูลรายงานทางทะเบียนและรายการเจ้าของรถ
ในคู่มือตรงกับฐานข้อมูล ในระบบคอมพิวเตอร์ของกรมการขนส่งทางบกโดยสอบถามไปที่สำนักงานที่รถนั้นจดทะเบียนอยู่ (ดูจากที่อยู่ของเจ้ของรถคนปัจจุบัน)ผู้สอบถามต้องเป็น
ผู้แจ้งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบว่าตรงหรือไม่  เนื่องจากเจ้าหน้าที่จะตอบได้เพียง ใช่ หรือ ไม่ใช่ ฉะนั้น ผู้ซื้อต้องเตรียมขอถ่ายสำเนาสำเนาคู่มือจดทะเบียนที่ต้องการ
จะซื้อมาเพื่อตรวจกับกรมขนส่ง
   2.การตรวจสอบด้วยตนเองที่สำนักงานขนส่งที่รถนั้นจดทะเบียน ซึ่งถือเป็นวิธีที่ค่อนข้างรัดกุม โดยนำคู่มือหรือสำเนามาให้เจ้าหน้าที่ตรวงสอบความถูกต้องกับต้นทะเบียนรถ ซึ่งทั้งสองวิธีการให้บริการของกรมการขนส่งและหน่วยงานที่รับผิดชอบ โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
       หากเจ้าหน้าที่่กรมการขนส่งตรวจสอบพบว่า เล่มทะเบียนปลอมแปลงขึ้นมา   เขาจะแจ้งความรองทุกข์ต่อเจ้าพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีกับผู้นำเอกสารมายื่น (ก่อน) และผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด
เพื่อเอาผิดตามกฎหมายอาญา ฐานปลอมและใช้เอกสารปลอม
       ก่อนทีคุณจะตกเป็นเหยื่อไปพร้อมๆ กับการเเป็นผู้ต้องหาฐานปลอมแปลงเอกสารทางราชการ วิธีป้องกันที่ดีที่สุดก็คือ เลือกซื้อรถมือสองจากแหล่งที่มาที่มีความน่าเชื่อถือ และเมื่อตกลงซื้อขายกันแล้ว
 ก่อนชำระเงิน ควรนำรถรถเข้ารับราชการตรวจสอบสภาพและนัดผู้ขายมาจดแจ้งการโอนกรรมสิทธิ์ต่อนายทะเบียนให้ถูกต้องก่อนจึงชำระเงินค่ารถให้แก่ผู้ขาย
       หากประชาชนมีข้อสงสัยหรือต้องการคำแนะนำเพิ่มเติมสามารถสอบถามและขอขอคำแนะนำได้ที่ สายด่วน กรมการขนส่ง หมายเลขโทรศัพท์ 1584 (ตลอด 24 ชั่วโมง)

วิธีสังเกตทะเบียนจริง....ไม่อิงนิยาย
     สมุดคู่มือจดทะเบียนของรถนั้นหากมีการเปลี่นแปลงเจ้าของบ่อย ลำดับเจ้าของในปัจจุบันสูง น่าคิ ดว่ารถคันนี้อาจจะผิดปกติ เช่น รถสภาพไม่ดีเจ้าของต้องขาย เพราะซ่อมไม่ไหว
     ในกรณีที่มีการแจ้งย้าย ซึ่งสังเกตได้จาก รายการแจ้งย้าย ท้ายเล่มเข้าๆ ออกๆ กรุงเทพบ่อยครั้งก๊เป็นเรื่องน่าคิดว่ารถกำลังหนี หรือปิดบังซ่อนเร้นอะไรอยู่หรือเปล่า
      แต่ทั้งหมดนี้ก๊คงไม่น่ากลัวเท่ากับ สมุดคู่มือเล่มทะเบียนที่ผ่านการ ล้างเล่ม หมายถึง เทคนิคการล้างประวัติอันโชกโชนของรถมือสอง จนเหลือแค่ปัจจุบัน ทำให้ผู้ซื้อรู้สึกว่า เป็นรถผ่านการใช้งานมาไม่เยอะ สามารถอัพราคาให้รถมือสองได้เป็นอย่างดี
     ‘’เอกสารสำคัญของรถถือเป็นสิ่งที่ปลอมได้ง่ายกว่าย้อมรถมาขายเสียเสียอีก ไม่ว่าจะเป็นการปลอมเล่มทะเบียน ซึ้งปัจจุบันทำกันได้ง่ายมาก ผู้ซื้อรถมือสองควรระวังให้มาก โดยให้จดจำแพทเทิร์นของตัวเล่มทะเบียนแท้ๆให้มากที่สุด เช่น ตัวหนังสือทางราชการที่มักจะใช้พิมพ์ดีดบ้าน แต่สำหรับเล่มปลอมนั้นมักจะเป็นพิมพ์ดีดคอมพิวเตอร์ เป็นต้น แต่อะไรก๊ไม่น่ากลัวเท่ากับเล่มทะเบียนของแท้ที่ถูกแจ้งหาย ซึ่งในวงการมักเรียกว่า ล้างเล่ม เล่มทะเบียนเหล่านี้ประวัติเดิมไม่เหลือ ทำให้เราไม่รู้ที่มาที่ไปของรถว่า  เป็นมาอย่างไรเคยผ่านเจ้าของมากี่คนแล้ว
คุณอาจจะสงสัยว่า ทำได้จริงหรือ? ทำได้อย่างไร
      ยกตัวอย่าง รถยี่ห้อ A ทะเบียนเดิมเป็นรถจดทะเบียนปี 2538หรือรุ่น ค.ศ.1995 นำมายื่นแจ้งขอหยุดการใช้รถ โดยนำเล่มทะเบียนและแผ่นป้ายทะเบียน หน้าและหลัง ไปยื่นคำร้องขอหยุดใช้รถ ขณะเดียวกันขอยื่นแจ้งย้ายออกไปต่างจังหวัดใกล้เคียง เพื่อขอแจ้งจดใหม่โดยยอมเสียค่าจดทะเบียนและเสียค่าภาษีประจำปีเหมือนจดรถใหม่ โดยเสียค่าจะทะเบียนพร้อมป้ายใหม่ และเพื่อไห้ได้มาของรายการจดทะเบียนจะระบุวันที่จดทะเบียน ณ ปัจจุบันทันที
   ทั้งนี้ทางราชการจะมีระบุหมายเหตุการณ์กระทำดังกล่าว หรือการร้องขอดังกล่าวไว้ในหน้าที่ 18 ของสมุดคู่มือจดทะเบียนเล่มใหม่ พร้อมแผ่นป้ายหมายเลขใหม่ว่า วันเดือนปีอะไรมาแจ้งไม่ใช้รถตลอดไป ตั้งแต่วันที่มาแจ้งขอ
     ดังนั้นถ้าหากมีระบุไว้หน้าที่ 18 ไว้อย่างนี้แล้ว ก๊ต้องรู้ว่าเป็นการแจ้งหยุดใช้รถเพื่อจดใหม่ และจะมีระบุเพื่มเติมด้วยเป็นรถรุ่นปีจดทะเบียนเดิมเก็บไว้ด้วย
     โดยอาจจะใช้ประกอบกับ การล้างเล่ม โดยการจงใจทำให้สมุดคู่มือจดทะเบียนชำรุด ฉีกขาด หรือ สูญหาย และยื่นคำร้องขอคัดสมุดคู่มือจดทะเบียนเล่มใหม่ แต่กรณีนี้รายละเอียดขอการแจ้งหยุดและขอจดใหม่ หรือระบุว่าเป็นรุ่นปีอะไรเดิม จะไม่ปรากฏในหน้าที่ 18 แล้ว จะมีก๊แต่เพียงคำร้องขอแจ้งคัดชำรุด หรือแทนฉบับเดิมที่สูญหาย และได้มาซึ้งวันจดทะเบียนในรายการจดทะเบียนปีปัจจุบัน

   ฉะนั้นผู้ซื้อพึงระวังให้มาก สำหรับสมุดคู่มือทะเบียนที่การระระบุข้อความว่า คัดเล่มชำรุด หรือ แทนฉบับสูญหาย ทั้งที่เป็นรุ่นปีใหม่ก๊น่าคิดว่ามีอะไรที่ปิดบังอำพรางอยู่รึเปล่า